วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

ความยาว
ความยาว เป็นหน่วยวัดขนาดของสิ่งต่างๆ โดยจะวัดระยะห่างระหว่างปลายทั้งสองข้างของสิ่งนั้น หน่วยเอสไอของความยาว คือเมตร ความยาวเป็นขนาดในหนึ่งมิติ ซึ่งความยาวในสองมิติจะเกิดเป็นพื้นที่ และในสามมิติจะเกิดเป็นปริมาตร

มาตราวัดสากล
อังกฤษเคยเป็นจักรวรรดิโลกใหม่ที่แผ่อำนาจคลุมไปเกือบทั่วโลก ระบบมาตราวัดอังกฤษจึงค่อนข้างแพร่หลายมากที่สุด มาตราวัดความยาวระบบอังกฤษมี ฟุต(foot) ใหญ่ขึ้นไปก็เป็น หลา(yard) เป็นไมล์(mile) เล็กลงไปกว่าฟุตก็มี นิ้ว(inch) ซึ่งมาตราวัดสมัยโบราณนั้นโดยทั่วไปตามประเทศต่าง ๆ ก็จะใช้ความยาวของส่วนของร่างกายของคนทั่ว ๆ ไปเป็นหลัก ซึ่งก็เป็นการวัดโดยประมาณเพราะร่างกายของคนแต่ละคนมีขนาดแตกต่างกัน ต่อมาจึงเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานขึ้น มีการสร้างไม้วัดขนาดมาตรฐานขึ้นมา เช่น ความยาว 1 ฟุตนั้นว่ากันว่าใช้ความยาวของพระบาทของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ความยาว 1 หลาได้มาจากรอบพระองค์ของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 (หรือบ้างก็ว่าเป็นความยาววัดจากปลายจมูกถึงปลายหัวแม่มือเมื่อเหยียดตรง) ความสัมพันธ์ของหน่วยพวกนี้ เราก็ทราบกันดีว่า 12 นิ้วเป็น 1 ฟุต 3 ฟุตเป็น 1 หลา และ 1760 หลาเป็น 1 ไมล์
ในเรื่องของ ไมล์ ก็ยังมีทั้ง ไมล์บก ไมล์ทะเล ไมล์บก หรือ statute mile (ไมล์ตามกฎหมาย) นั้น เท่ากับ 1,760 หลา หรือ 5,280 ฟุต ถ้าคิดเป็นกิโลเมตร จะได้ 1.61 กิโลเมตร ส่วนไมล์ทะเล nautical mile หรือ geographical mile นั้นยาวกว่าไมล์บก คือเท่ากับ 2,025 หลา หรือ 6,076 ฟุต ถ้าคิดเป็นกิโลเมตร จะได้ 1.852 กิโลเมตร และยังมีไมล์อากาศ (air mile) อีก แต่ดีหน่อยที่ไมล์อากาศ ก็เท่ากับ ไมล์ทะเล นั่นเอง

ความยาว ระบบอังกฤษ
เรื่องมาตราวัดที่เกี่ยวกับทะเลนี้ มีเรื่องการวัดความลึกตามมาตราโบราณคำหนึ่ง คือ ลีก(league) ซึ่งจะเห็นจากหนังสือของจูลส์ เวิร์น (Jules Verne) นักเขียนชาวฝรั่งเศสเรื่อง 20,000 leagues under the sea ซึ่งถ้าเป็นชื่อหนังสือฝรั่งเศสจะเป็น Vingt mille lieues sous les mers ดังนั้น หน่วย league นี้ถ้าเป็นภาษาฝรั่งเศสก็จะเป็น lieue (ส่วนไทยที่เคยมีการแปลชื่อหนังสือหรือหนังเรื่องนี้ได้ปรับไปใช้ชื่อหน่วยแบบไทย ๆ คือใช้ชื่อว่า ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ ซึ่งความจริงแล้ว league หรือ lieue นี้ไม่ได้เท่ากับโยชน์) 1 league นี้เท่ากับประมาณ 3 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 5.556 กิโลเมตร
หน่วยที่ใช้วัดความลึกทะเลยังมีอีกคำคือ ฟาทอม(fathom) 1 ฟาทอมเท่ากับ 6 ฟุต หรือ 1.83 เมตร

มาตราวัดทางทะเล
หน่วยวัดขนาดที่เคยมีการใช้กันอีกหน่วยคือ อังสตรอม (Angstrom) ซึ่งตั้งตามชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนที่ชื่อ อันเดอรส์ โยนาส อองสเตริม (Anders Jonas Angstrom) 1 อังสตรอมเท่ากับ 10^- 8 ซม หรือ 10^- 10 เมตร

มาตราวัดความยาวขนาดเล็กมาก
ดูบทความหลักได้ที่ มาตราวัดความยาวของไทย
มาตราวัดความยาวของไทย พัฒนาการมาจากการใช้สิ่งแวดล้อม และ ร่างกายในการวัด เช่น
8 ปรมาณู เป็น 1 อณู
5 อณู เป็น 1 ธุลี
8 เส้นผม เป็น 1 ไข่เหา
8 ไข่เหา เป็น 1 ตัวเหา
8 ตัวเหา เป็น 1 เม็ดข้าว
8 เม็ดข้าว เป็น 1 นิ้ว
12 นิ้ว เป็น 1 คืบ
2 คืบ เป็น 1 ศอก
4 ศอก เป็น 1 วา
20 วา เป็น 1 เส้น
400 เส้น เป็น 1 โยชน์

มาตราวัดของจีนโบราณ
มาตราวัดที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดเห็นจะเป็นของทางดาราศาสตร์ คือ ปีแสง (light – year หรือ light year) ระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในเวลา 1 ปี แสงมีความเร็ววินาทีละ 186,000 ไมล์ ดังนั้น ระยะทาง 1 ปีแสงจึงเท่ากับประมาณ 5.88 ล้านล้านไมล์ (5.88 x 1012 ไมล์) หรือ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร (9.46 x 1012 กิโลเมตร)

ไม่มีความคิดเห็น: