วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550


บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่าต้องการคงชื่อภาษาอังกฤษ ง่ายต่อการเข้าใจของผู้เขียน

ภาพบรรยากาศงาน WWDC ปี 2005

WWDC ข้อมูลการจัดงาน

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จารุพงษ์ ทองสินธุ์
จารุพงษ์ ทองสินธุ์ เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ผู้สูญหายไปในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โศกนาฏกรรมครั้งนั้น ได้กลายเป็นตัวแทนของความโหดร้ายในเหตุการณ์ 6 ตุลา เพื่อเป็นการระลึกถึงจารุพงษ์ ชื่อของเขาถูกนำไปเป็นชื่อห้องประชุม "จารุพงษ์ ทองสินธุ์" ของ อมธ. (ตั้งอยู่ที่ตึกกิจกรรม ท่าพระจันทร์)
จารุพงษ์ ชื่อเล่นชื่อ เกี๊ยะ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2500 บิดาชื่อ นายจินดา ทองสิทธุ์ รับราชการเป็นครู มารดาชื่อ นางลิ้ม ทองสิทธุ์ เป็นชาวสวน เพื่อนคนหนึ่งสมัยเรียนธรรมศาสตร์ของจารุพงษ์คือ เกษียร เตชะพีระ ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่ธรรมศาสตร์
ในช่วงนั้น จารุพงษ์เป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ปีที่ 2 เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองซึ่งกำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนั้น โดยเป็นกรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
เช้าวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จารุพงษ์ถูกยิงหน้าตึก อมธ. ขณะเร่งให้เพื่อนนักศึกษาออกจากตึก อมธ.

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550


เล็บมือนาง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Garrae มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ 8-10 ซ.ม. ใหญ่สุด 17 ซ.ม.
มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก อาหารได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก
เป็นปลาที่พบบ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
เล็บมือนาง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " สร้อยดอกยาง "
ปลาเล็บมือนาง

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ดูบทความหลักที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในส่วนภูมิภาค ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

คณะวิทยาการจัดการ
คณะมนุุษยศาสตร์
คณะครุศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1482 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 939 - มีนาคม ค.ศ. 940
มหาศักราช 861 พ.ศ. 1482 วันเกิด

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รักนะ 24 ชั่วโมง
รักนะ 24 ชั่วโมง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2550 ผลิตโดย อาร์เอสฟิล์ม มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพนักงานร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยา
ค้นหา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยา ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยา
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยา ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1625 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1082 - มีนาคม ค.ศ. 1083
มหาศักราช 1004 พ.ศ. 1625 วันเกิด

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550


พระอวโลกิเตศวร (เทวนาครี अवलोकितेश्वर , โรมัน Avalokiteśvara , จีน 觀世音) พระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นเสมือนปุคคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปฺรชฺญาปารมิตาสูตฺร, สทฺธรฺมปุณฑรีกสูตฺร และการณฺฑวยูหสูตฺร

ความหมายของพระนาม
พุทธศาสนามหายานได้จำแนกพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท อันได้แก่ พระมนุษิโพธิสัตว์ และ พระธยานิโพธิสัตว์

พระมนุษิโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ในสภาวะมนุษย์หรือเป็นสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ ที่กำลังบำเพ็ญสั่งสมบารมีอันยิ่งใหญ่เพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐ ถ้าตามมติของฝ่ายเถรวาทก็คือผู้ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารเพื่อบำเพ็ญ ทศบารมี ๑๐ ประการให้บริบูรณ์ เหมือนเมื่อครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำมาในอดีต โดยที่ทรงเสวยพระชาติเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์จนได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้า การบำเพ็ญบารมีดังกล่าวนี้เป็นความยากลำบากแสนสาหัส สำเร็จได้ด้วยโพธิจิต อีกทั้งวิริยะและความกรุณาอันหาที่เปรียบมิได้ ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานนับด้วยกัปอสงไขย สิ้นภพสิ้นชาติสุดจะประมาณได้
พระธยานิโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มิใช่พระโพธิสัตว์ผู้กำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อแสวงหาดวงปัญญาอันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเหมือนประเภทแรก แต่เป็นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว และสำเร็จเป็นพระธยานิโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์ในสมาธิโดยยับยั้งไว้ยังไม่เสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ เพื่อจะโปรดสรรพสัตว์ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด พระธยานิโพธิสัตว์นี้เป็นทิพยบุคคลที่มีลักษณะดังหนึ่งเทพยดา มีคุณชาติทางจิตเข้าสู่ภูมิธรรมขั้นสูงสุดและทรงไว้ซึ่งพระโพธิญาณอย่างมั่นคง จึงมีสภาวะที่สูงกว่าพระโพธิสัตว์ทั่วไป พระธยานิโพธิสัตว์มักจะมีภูมิหลังที่ยาวนาน เป็นพระโพธิสัตว์เจ้าที่สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์มาเนิ่นนานนับแต่สมัยพระอดีตพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สุดจะคณานับเป็นกาลเวลาได้ พระธยานิโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานรู้จักดี อาทิ พระมัญชุศรี พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปต์ พระสมันตภัทร พระกษิติครรภ์ เป็นต้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประวัติความเป็นมาในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน
ภาพเขียนหรือรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรเริ่มแรกนิยมสร้างเป็นรูปบุรุษหนุ่ม ทรงเครื่องอลังการวิภูษิตาภรณ์อย่างเจ้าชายอินเดียโบราณ และมีอยู่หลายปางด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญคือศิราภรณ์บนพระเศียรพระอวโลกิเตศวรจะต้องมีรูปของพระอมิตาภะในปางสมาธิ หากเป็นปางที่มีหลายเศียร เศียรบนสุดจะเป็นเศียรพระอมิตาภะ นับเป็นข้อสังเกตในด้านปฏิมากรรมของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ ส่วนดอกบัวอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร คือ บัวสีชมพู ขณะที่สีขาวคือบัวของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เท่านั้น และด้วยดอกบัวสีชมพูในตระกูลปัทมะนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่าปัทมปาณีโพธิสัตว์
เมื่อพระพุทธศาสนามหายานได้เข้าสู่ประเทศจีนในช่วงแรกคือสมัยก่อนราชวงศ์ถัง ในยุคนั้นรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรยังสร้างเป็นรูปบุรุษตามแบบพุทธศิลป์ของอินเดีย หากในกาลต่อมาช่างชาวจีนได้คิดสร้างเป็นรูปสตรีเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร สะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นถิ่นที่ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่ากวนอิมในรูปลักษณ์ของสตรีเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีน และแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ กระทั่งแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายหญิงแทนค่าในเรื่องความเมตตากรุณาได้ดี ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างบุรุษเพศจะสะท้อนเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยังเกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นก็พลอยสร้างรูปพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีตามแบบอย่างประเทศจีนไปด้วย

เรื่องราวในสทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตร
รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือสรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรมชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ "มหากรุณาหฤทัยธารณี" เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่าพระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า "สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง"
ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า "ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล" เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง
จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ซินธิไซเซอร์ (อังกฤษ: Synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป
ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์
ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง

พื้นฐานของเสียง
ซินธิไซเซอร์ที่ใช้หักล้างเสียงใช้ทั่วไปกับรูปแบบที่ต้องการตัดเสียงสะท้อนที่เสมือนเครื่องดนตรี โดยจะถูกใช้แทนด้วยการสร้างสัญญาณทั่วไป เช่น การสร้างคลื่นรูปฟันเลื่อย คลื่นสี่เหลี่ยม เป็นต้น จาก ตัวกรอง (Filter) ซึ่งแสดงการสูญเสียที่ขึ้นกับความถี่ และการเรโซแนนซ์ในตัวเครื่องดนตรี ตัวกรองเหล่านี้ถูกแบ่งโดยตัวกรองที่ยอมให้สัญญาณต่ำผ่านเมื่อมีสัญญาณเข้ามาในระดับต่ำเพราะเหตุผลที่ต้องการความเรียบง่ายและประหยัด การรวมการกล้ำเสียงในคลื่นอย่างง่าย เช่น การรวมสัญญาณกับความกว้างคลื่น (Pulse width modulation) และ การส่งสัญญาณไปกับสัญญาณที่สร้างขึ้น (Oscillator sync) รวมไปถึงตัวกรองสัญญาณต่ำที่ไม่เกิดขึ้นจริงในทางกายภาพ เป็นการตอบสนองที่ใช้กับซินธิไซเซอร์แบบคลาสสิค เสียงส่วนใหญ่จะถูกสร้างจากการสังเคราะห์ทางอนาล็อก และมักจะมีข้อผิดพลาดเมื่อนำไปใช้กับซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้การสังเคราะห์แบบหักล้างเสียง แม้ว่า การสังเคราะห์รูปแบบทางกายภาพ (Physical modeling synthesis) นั้น การสังเคราะห์เสียงจะถูกสร้างตามลักษณะกายภาพของเครื่องดนตรีโดยถูกแทนที่การสังเคราะห์แบบหักล้างสำหรับการสร้างเสียงคู่แปดของเครื่องดนตรีตามธรรมชาติ ตัวอย่างการสังเคราะห์แบบหักล้างเสียงยังคงแพร่หลายในซินธิไซเซอร์จากการออกแบบที่ทันสมัยที่สุดที่สนับสนุนให้ตัวกรองที่ให้สัญญาณต่ำผ่านเมื่อสัญญาณที่เข้ามาอยู่ในระดับต่ำหรือตัวกรองที่ให้ช่วงความกว้างคลื่นผ่านได้ตามอย่างอุปกรณ์สร้างสัญญาณ
ระบบการสังเคราะห์เสียงที่ง่ายที่สุดเป็นการอัดเสียงจากเครื่องดนตรีโดยตรงให้เป็นรูปแบบคลื่นดิจิตอล และเมื่อนำมาเล่นที่ความเร็วต่างๆ กัน โทนเสียงที่สร้างได้ก็จะต่างกันด้วย นี่เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสุ่มสัญญาณเสียง เครื่องสุ่มสัญญาณส่วนใหญ่ออกแบบส่วนของการสุ่มเพื่อใช้สำหรับส่วนประกอบย่อยของสภาพแวดล้อมของ ADSR และเมื่อเล่นซ้ำที่ส่วนซึ่งเปลี่ยนเสียงองค์ประกอบของสภาวะแวดล้อม ทำให้เครื่องสุ่มมีสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ชวนใจ น่าหลงใหลขึ้นจากการใช้โน้ตตัวเดียวกัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การสังเคราะห์ตัวอย่างพื้นฐาน; Sample-based synthesis)

ภาพรวมของวิธีการสังเคราะห์ที่เป็นที่นิยม
ซินธิไซเซอร์แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่แบบ อนาล็อก และแบบ ดิจิตอล
นอกจากนี้ยังมีวิธีการสังเคราะห์ที่แตกต่างกันอีกหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จัดอยู่ในกลุ่มซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อกและแบบดิจิตอลทั้งสิ้น เทคนิคเหล่านี้ล้วนต้องเกี่ยวข้องวิธีทางคณิตศาสตร์ ยกเว้นวิธีการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulation; FM) และวิธีการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนคาบของคลื่น (Phase Modulation; PM)

พื้นฐานของซินธิไซเซอร์
ซินธิไซเซอร์ในยุคเริ่มต้นนั้นใช้เทคโนโลยีที่ได้มาจาก คอมพิวเตอร์อนาล็อก อิเลคทรอนิกส์ และเครื่องมือทดสอบในห้องทดลอง
ในยุค 1950 RCA สร้างมาเพื่อสังเคราะห์ทั้งเสียงคนและเสียงดนตรี Mark II Music Synthesizer ถือกำเนิดขึ้นที่ศูนย์ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ โคลัมเบีย - ปรินเซตอน ใน นครนิวยอร์ก ของปี 1958 ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถทางด้านดนตรีตั้งแต่การเริ่มโปรแกรมอย่างสมบูรณ์แบบ ระบบหลอดสุญญากาศ มีส่วนเข้ามาสร้างเสียงชนิดใหม่ๆ นี้ โดยการใช้ เครื่องจัดเรียง เทปกระดาษ มาเจาะรูให้ควบคุมแหล่งต้นกำเนิดเสียงและตัวกรองอีกที คล้ายกับการใช้ เครื่องจักรเล่นเปียโน แต่สามารถสร้างเสียงที่มีความหลากหลายมากขึ้นได้
ในปี 1958 Daphne Oram แห่งร้านบีบีซี เรดิโอโฟนิก (BBC Radiophonic Workshop) สร้างซินธิไซเซอร์ชนิดใหม่ที่ใช้เทคนิค Oramics โดยการเขียนบนแผ่นฟิล์มขนาด 35 มม. เทคนิคนี้ถูกใช้หลายปีที่ BBC Hugh Le Caine, John Haert, Raymond Scott, Percy Grainger กับ Burnett Cross และทีมงานได้สร้างเครื่องควบคุมเสียงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติในช่วงปลายยุค 1940 และ 1950 ขึ้น
ในยุค 1960 ซินธิไซเซอร์ถูกพัฒนาให้สามารถเล่นแบบเรียลไทม์ แต่ถูกจำกัดให้อยู่ในสตูดิโอด้วยข้อจำกัดด้านขนาด การมอดูเรตได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบให้ใช้ได้กับแหล่งกำเนิดสัญญาณและโปรเซสเซอร์ โดยต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ และควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดจากการควบคุมอุปกรณ์หลัก
ซินธิไซเซอร์ในยุคแรกมักจะถูกสร้างจากอุปกรณ์พิเศษ โดยอาศัยหลักการมอดูเรต Donald, Hugu Le Caine Raymond Scott และ Paul Ketoff เป็นกลุ่มแรกที่สร้างเครื่องดนตรีพวกนี้ ในปลายยุค 1950 ถึง ต้นยุค 1960 ซึ่งมีเพียง Buchla ที่ต่อมาได้สร้างเครื่องในเชิงธุรกิจเพื่อการค้า
ซินธิไซเซอร์ของดนตรีสมัยใหม่ถูกสร้างโดย Robert Moog ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Peter Mauzey หนึ่งในวิศวกรของ RCA Mark II Moog ได้ออกแบบวงจรที่ใช้กับซินธิไซเซอร์ของเขา ขณะที่อยู่ที่โคลัมเบีย-ปรินเซตอน ซินธิไซเซอร์ของ Moog ถูกนำแสดงครั้งแรกที่ สมาคมวิศวกรรมด้านเสียงดนตรี (Audio Engineer Society ) เมื่อเข้าสู่ปี 1964 เช่นเดียวกับ RCA Mark II ที่ต้องการเวลาในการสร้างเครื่องจักรที่ให้เสียงชนิดใหม่ๆ แต่เล็กกว่าและใช้ได้สะดวกกว่า ซินธิไซเซอร์ของ Moog จนกระทั่งปี 1968 เรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว
Mycky Dolenz แห่ง The Monkees ได้ซื้อซินธิไซเซอร์ 3 ชิ้นแรกของ Moog และซินธิไซเซอร์ก็เริ่มมีการทำธุรกิจทางการค้าขึ้นผ่านซินธิไซเซอร์ Moog ซึ่งจัดเป็นอัลบั้มที่ 4 ของ Monkee แห่งค่าย Pises Aquarius Capricorn & Jones ในปี 1967 ค่าย Pises Aquarius Capricorn & Jonesยังได้อัลบั้มแรกที่ใช้ซินธิไซเซอร์แล้วเพลงติดอันดับ 1 ของความนิยม นอกจากนี้ยังเป็นเพลงแรกจากการใช้ซินธิไซเซอร์ที่ขายได้กว่าล้านอัลบั้ม ในปี 1968 อัลบั้ม Switched-On Bach โดย Wendy Carlos Switched-On Bach ยังเป็นการอัดเพลงคลาสสิคที่ได้รับความนิยมที่สุดชุดหนึ่งเท่าที่เคยมีมา ระหว่างปลายยุค 1960 กว่าร้อยเพลงที่เป็นที่นิยมใช้เสียงที่ได้จากซินธิไซเซอร์ของ Moog ซินธิไซเซอร์ของ Moog ใช้อัดเสียงจนแพร่หลายซึ่งได้สร้างเสียงใหม่ๆ จากซินธิไซเซอร์ของเขา ซึ่งตอนนั้นไม่ได้มีเฉพาะซินธิไซเซอร์ของ Moog จึงเป็นที่นิยมและขายได้มากทีเดียว
นอกจากนี้ Moog ยังสร้างมาตรฐานสำหรับการควบคุมการส่งสัญญาณด้วยการกำหนด 1 โวลต์ต่อ 1 ออกเตฟ (Octave) ในการควบคุมระดับเสียงและแยกสัญญาณส่วนเกิน นี่เป็นมาตรฐานที่ทำให้ซินธิไซเซอร์เปลี่ยนจากเครื่องมือที่ยุ่งยากเป็นเครื่องที่ง่ายต่อการใช้ การควบคุมระดับเสียงมักจะใช้กำหนดทั้งออแกนในรูปแบบของคีย์บอร์ดหรือ เครื่องจัดเรียงเสียงดนตรี (music sequencer) ซึ่งสร้างลำดับในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าเพื่อการกำหนดคาบเวลา และยังอนุญาตให้สร้างเสียงดนตรีบางตัวโดยอัตโนมัติ
ซินธิไซเซอร์ในเชิงธุรกิจการค้าในยุคต้นๆ นั้นยังมี ARP ซึ่งเริ่มใช้ซินธิไซเซอร์มอดูลาร์ก่อนเพื่อสร้างเสียงเครื่องดนตรีทั้งหมดไว้ในชิ้นเดียว และบริษัทชาติอังกฤษชื่อ Electronic Music Systems อีกด้วย
ในยุค 1970 การกำเนิดส่วนประกอบแบบโซลิดเสตทนั้น ทำให้ซินธิไซเซอร์กลายมาเป็นของชิ้นเดียวและสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันซินธิไซเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้กลายมาเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานของอุปกรณ์ทางดนตรี ซึ่งเพลง Son of my Father ของ Giorgio Moroder ได้ติดอันดับ 1 ของเพลงฮิตจากการใช้ซินธิไซเซอร์ (Shapiro, 2000)
ในปี 1984 Raymond Kurzweil ได้ตั้งข้อสังเกตจาก Stieve Wonder ในการสร้างซินธิไซเซอร์ให้สามารถสร้างเสียงซ้อนของเครื่องดนตรีออเคสตาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอัดตัวอย่างเสียงของเครื่องดนตรีจริง และใช้ในการฝึกคอนดักเตอร์และนักดนตรีจากซินธิไซเซอร์ของ Kurzweil เมื่อเขาเหล่านั้นไม่สามารถซ้อมดนตรีได้จากเครื่องดนตรีจริง

ออแกนอิเลคทรอนิกส์ กับ ซินธิไซเซอร์
ซินธิไซเซอร์อนาล็อกในยุคต้นๆ มักจะเป็นแบบเสียงเดียว (monophonic) คือสร้างได้เสียงเดียวใน 1 ช่วงเวลา ต่อมาได้เพิ่มความสามารถการสร้างเสียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น Moog Sonic Six, ARP Odyssey และ EML 101 ซึ่งสามารถสร้างเสียงที่ต่างกัน 2 ระดับใน 1 ช่วงเวลา เมื่อกดปุ่มพร้อมกัน 2 ปุ่ม ส่วนการสร้างหลายระดับเสียงหรือโพลิโพนนี (Polyphony) ที่สามารถสร้างได้หลายระดับเสียงผ่านการประสานเสียงถูกนำมาแสดงร่วมกับการออกแบบออแกนอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก เป็นวงจรออแกนที่รวมเอาคีย์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่นิยมใช้กับโปรเซสซิ่งซินธิไซเซอร์ซึ่งประกอบด้วย ARP Omni และ Moog's Polymoog และ Opus3
จากปี 1976 ซินธิไซเซอร์เสียงดนตรีจริง ก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสนับสนุนการโพลิโพนนี ปรากฏให้เห็น ส่วนใหญ่ในรูปแบบของ Moog's Polymoog ยามาฮ่า CS-80 และ Oberheim Four-Voice เครื่องดนตรียุคต้นๆ จะซับซ้อนมาก หนักมาก และมีราคาค่อนข้างแพง อุปกรณ์อื่นที่เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นการอัดเสียงในหน่วยความจำดิจิตอล ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนเสียงได้เร็วยิ่งขึ้น
เมื่อไมโครโปรเซสเซอร์กำเนิดขึ้นในต้นยุค 1970 พวกมันทำให้กระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น การใช้เสียงหลายระดับร่วมกัน และการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ในการควบคุมการทำงานเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ Sequential Circuit Prophet-5 ถูกเปิดตัวในปี 1977 สำหรับช่วงแรกนักดนตรีคุ้นเคยกับซินธิไซเซอร์ที่มีการตั้งค่าต่างๆเก็บไว้ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเรียกใช้จากการกดปุ่ม Prophet-5 ถูกนำเข้ามาแทนด้วยความกะทัดรัด น้ำหนักเบา พื้นฐานการออกแบบกลายมาเป็นมาตรฐานของเครื่องซินธิไซเซอร์ ถือเป็นการขจัดความยุ่งยากในการออกแบบมอดูล่าร์ที่ซับซ้อนออกไป

เครื่องสังเคราะห์เสียง ซินธิไซเซอร์ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์และอนาล็อกหลายเสียง
ในช่วงที่ประดิษฐ์ MIDI, a time-coded serial interface ขึ้นในปี ค.ศ. 1983 ซินธิไซเซอร์กลายมาเป็นสิ่งที่ง่ายในการรวมเสียงและเข้าจังหวะเสียงกับเครื่องดนตรีอิเลคทรอนิกส์และอุปกรณ์ควบคุมชนิดอื่นๆ การต่อ MIDI ในปัจจุบันใช้แพร่หลายเกือบจะในทุกอุปกรณ์ดนตรี และยังใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PCs) ด้วย
มาตรฐาน General MIDI (GM) Software ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1991 เพื่อรองรับวิธีที่ตรงกันในการอธิบายเสียงสูงต่ำกว่า 200 ชุด รวมไปถึงเสียงเคาะด้วย สามารถที่จะใช้กับ PC สำหรับเสียงโน้ตดนตรี ในครั้งแรกที่ใช้อุปกรณ์ GM ให้ตั้งเสียงให้ตรงกับการสร้างเสียงปี่หรือเสียงกีตาร์ รูปแบบไฟล์ .mid เป็นที่แพร่หลายและกลายเป็นมาตรฐานที่เป็นที่นิยมใช้สำหรับการแปลงโน้ตเสียงของคอมพิวเตอร์

การควบคุม MIDI
John Chowning แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดเป็นผู้วิจัยคนแรกในการที่จะคิดค้นการสร้างเสียงดนตรีจากเครื่องสร้างไฟฟ้ากระแสสลับอันหนึ่งที่ใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุตั้งระดับเสียงของอุปกรณ์อื่นๆ วิธีการนี้เรียกว่า FM หรือ การสังเคราะห์การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulation) การทดลอง FM ในช่วงแรกของ Chowning ทำด้วยโปรแกรมโปรแกรมบนเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
FM ใช้อุปกรณ์สร้างคลื่นไซน์ ซึ่งเรียกว่า โอเปอร์เรเตอร์ โดยความถี่มูลฐานของโอเปอร์เรเตอร์ต้องนิ่งพอ โดยปกติแล้วจะสร้างจากสัญญาณดิจิตอล แต่ละเสียงที่ออกมาของโอเปอร์เรเตอร์อาจจะถูกนำไปเป็นสัญญาณป้อนให้โอเปอร์เรเตอร์อื่น ผ่าน ADSR หรืออุปกรณ์ควบคุมแวดล้อมอื่นๆ โอเปอร์เรเตอร์แรกจะใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุของระดับเสียงของโอเปอร์เรเตอร์ตัวที่สอง โดยวิธีนี้สามารถสร้างรูปแบบคลื่นที่ซับซ้อนได้ การสังเคราะห์ FM เป็นวิธีพื้นฐานของการสังเคราะห์เพิ่มและตัวกรองใช้ในซินธิไซเซอร์ที่ใช้หักล้างเป็นชนิดที่ไม่ใช้ในซินธิไซเซอร์ FM จนกระทั่งกลางยุค 1990 จากการต่อโอเปอร์เรเตอร์แบบเรียงกันและการโปรแกรมภาวะแวดล้อมต่างๆ สามารถจำลองารสังเคราะห์การหักล้างบางชนิดได้ ผ่านเสียงของตัวกรองอนาล็อกเรโซแนนซ์ที่เป็นไปได้ในการทำเกือบทั้งหมด FM เป็นรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างเสียงที่ซินธิไซเซอร์แบบหักล้างมีความยากในการสร้างส่วนของเสียงที่ไม่เป็นฮาร์โมนิกส์เช่นเสียงระฆังที่มีเสียงคู่แปดมาปนอยู่
สิทธิบัตรของ Chowning ครอบคลุมการสังเคราะห์เสียง FM ได้ให้ลิขสิทธิ์กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นชื่อยามาฮ่า เป็นรายได้มหาศาลของแสตนฟอร์ดระหว่างยุค 1980 ซินธิไซเซอร์ FM ชุดแรกของยามาฮ่าคือ GS-1 GS-2 มีราคาค่อนข้างสูงและหนัก ปัจจุบันรุ่นต่อมาของ GS มีขนาดเล็กลง ปัจจุบันรุ่น CE20 และ CE25 Combo Ensembles ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการค้าที่ออแกนบ้าน และ และสร้างคีย์บอร์ออคเตฟที่ 4 รุ่นที่ 3 คือ DX-7 ในปี 1983 มีขนาดและน้ำหนักเหมือนกับ Prophet-5 มีราคาที่สมเหตุสมผล และขึ้นกับวงจรรวมสัญญาณดิจิตอลที่สร้าง FM ได้หลายระดับเสียง DX-7 เป็นที่นิยมมากและใช้ในกว่าพันอัลบั้มเพลงป๊อปนับจากยุค 1980 ยามาฮ่ายังได้รับลิขสิทธิ์อื่นๆ ในเทคโนโลยี FM ด้วย เมื่อสิทธิบัตรของแสตนฟอร์ดหมดอายุลงเกือบทุกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในโลกจะมีระบบเสียงที่เป็นแบบ built-in 4-opertor FM digital synthesizer

การสังเคราะห์การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (FM)
มีซินธิไซเซอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้กับการอัดสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้เล่นช่วงต่างๆ ของเสียงที่ออกมา ซินธิไซเซอร์นี้เรียกว่า เสียงที่ใช้เป็นตัวอย่าง (Sampler)
การสุ่มตัวอย่างเสียงสามารถถูกใช้ในการรวมเทคนิคของซินธิไซเซอร์อื่นๆ เข้าด้วยกันซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้บางตัวถูกสุ่มตัวอย่างเสียงและนำเสียงไปผ่านโปรแกรมตัวกรองพื้นฐาน สะท้อน ริงมอดูเรเตอร์ และอื่นๆอีกด้วย
การสุ่มตัวอย่างเสียงเริ่มหายไป เมื่อนักวิจัยประสบความสำเร็จในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเปิดตัว Fairlight CMI ในปี 1979 เป็นที่รู้จักดีของเครื่องดนตรีดิจิตอลที่ใช้การสุ่มตัวอย่างเสียง และเริ่มวิวัฒนาการต่อไป Fairlight มักจะถูกใช้ในการอัดเสียงของศิลปินยอดนิยมเช่น Jean-Michel Jarre, Kate Bush, Peter Gabriel และ Art of Noise จากการที่ Fairlight มีราคาที่ค่อนข้างสูง ความซับซ้อน และค่อนข้างหายาก และมีราคาใกล้เคียงกับ New England Digital Synclavier เป็นสาเหตุให้บริษัทแคลิฟอร์เนียชื่อ E-Mu ได้เปิดตลาด Emulator I ในปี 1981 เป็นคีย์บอร์ดสุ่มตัวอย่างเสียงที่มีราคาต่ำที่สามารถนำเสียงที่อัดไว้บันทึกในแผ่น Floppy disk และ Ensoniq ได้เปิดตลาดเป็นชุดต่อมาในปี 1985 มีราคาต่ำลงไปอีก Ensoniq Mirage มีราคาประมาณ 1,500 ดอลล่าร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับ Emulator I ที่มีราคารวมภาษีอยู่ที่ 7,900 ดอลล่าร์สหรัฐ

เครื่องสังเคราะห์เสียง ซินธิไซเซอร์เสียงกายภาพ
ซินธิไซเซอร์สมัยใหม่ส่วนมากเป็น ดิจิตอล เกือบทั้งหมด รวมไปถึงการสังเคราะห์อนาล็อกสมัยใหม่ก็ใช้ เทคนิกของดิจิตอล ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลใช้เทคนิคระบบสัญญาณดิจิตอล (Digital signal processing; DSP) เพื่อสร้างเสียงดนตรี ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลบางชนิดในปัจจุบันออกมาในรูปแบบของโปรแกรม Softsynth ที่เสียงจากซินธิไซเซอร์นำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นอกเหนือนั้นยังนำไปใช้กับอุปกรณ์ DSP
ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลสร้างตัวอย่างดิจิตอล โดยการเลือกเสียงที่ให้ความถี่ตัวอย่างออกมา (แบ่งเป็น 44100 ตัวอย่างต่อวินาที) ในกรณีพื้นฐานที่สุด เครื่องสร้างสัญญาณแต่ละตัวจะถูกจัดใหม่เพื่อการนี้ แต่ละตัวอย่างของเครื่องสร้างสัญญาณถูกใช้ให้เกิดความหลากหลายของเสียง ขึ้นอยู่กับความถี่ของเครื่องกำเนิดสัญญาณ สำหรับเครื่องสร้างฮาร์โมนิกส์ รูปแบบคลื่นของเครื่องสร้างสัญญาณจะถูกกำหนดขึ้น ส่วนเครื่องสุ่มสัญญาณรบกวนสัญญาณที่สุ่มส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของตัวเลข ค่าต่างๆ จากการนับของเครื่องกำเนิดสัญญาณจะถูกผสมเข้าด้วยกัน และจากนั้นจะส่งไปยังตัวแปลงดิจิตอลเป็นอนาล็อก และเครื่องขยายอนาล็อกเพื่อทำลายกำแพงความยากของขั้นตอนที่มีมากมายในการสร้างสภาพแวดล้อมเสียงและการผสมเสียง และเพื่อเพิ่ม ADSR และระดับการผสมเพื่อสร้างค่าจำนวนจริงของเครื่องสร้างสัญญาณ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อเพิ่มค่าในขั้นตอนสุดท้ายของการผสมเสียง สัญญาณจะถูกแปลงเป็นค่าคงที่ในเชิงเส้น

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ยุทธภูมินอร์มังดี
ยุทธการที่นอร์มังดี คือการรบระหว่างกองทัพนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัท) มายังหัวหาดนอร์มองดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 โดยทหารสัมพันธมิตรเรียกวันนี้ว่า ดี-เดย์ (D-Day)
กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกันได้แก่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา นอกจากนี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรีและโปแลนด์ก็ได้รวมเข้ากับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทหารที่ทำการจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์
การบุกหัวหาดนอร์มองดีอย่างแท้จริงเริ่มต้นตั้งแต่คืนก่อนหน้าวันที่ 6 มิถุนายน โดยมีเครื่องบินทิ้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศฝ่ายพันธมิตรเริ่มเปิดการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตามเมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร จนกระทั่งการบุกข้ามทะเลของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 6 และดำเนินต่อไปอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยปารีสในตอนปลายของเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่ปิดฉากการรบนี้ลง

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1468 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 925 - มีนาคม ค.ศ. 926
มหาศักราช 847 ค.ศ. 925ค.ศ. 925 วันเกิด

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


แชคิล ราชอน โอนีล (Shaquille Rashaun O'Neal) (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2515 ในเมืองนีวอร์ค มลรัฐนิวเจอร์ซี) เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า แชค (Shaq) เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลเอ็นบีเอที่แข็งแกร่งที่สุดคนหนึ่ง โอนีลเริ่มเล่นให้กับออร์แลนโด แมจิก ต่อมาเซ็นสัญญากับลอสแองเจลีส เลเกอรส์ ปัจจุบันอยู่กับทีมไมอามี ฮีท มีชื่อเสียงเรื่องตัวใหญ่ด้วยความสูง 7 ฟุต 1 นิ้ว (2.16 ม.) หนัก 340 ปอนด์ (154 กก.) และใส่รองเท้าเบอร์ 22 (ของทางสหรัฐ) มีชื่อเล่นหลายชื่อ เช่น ดีเซล (Diesel) บิ๊กอริสโตเติล (Big Aristotle) ซูเปอร์แมน (Superman) และล่าสุดเมื่อได้รับปริญญาโทบริหารธุรกิจคือ ดอกเตอร์แชค (Doctor Shaq) ซึ่งส่วนใหญ่แชคเป็นคนตั้งเอง เขาเริ่มเล่นในเอ็นบีเอตั้งแต่อายุ 20 ปี และตลอดเวลาการเล่น 13 ปี สร้างผลงานที่เยี่ยมยอดและหลายคนถือว่าเขาเป็นเซ็นเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่เคยมีมาทีเดียว

แชคิล โอนีล วัยเด็ก

ชีวิดการเล่นบาสเกตบอล
เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างเมื่อเล่นที่ไฮสกูล Robert G. Cole Junior-Senior High School ในเมืองซานแอนโตนิโอ มลรัฐเทกซัส และได้เป็นผู้เล่นดีเด่นของโรงเรียนระหว่างเวลาที่เล่นอยู่ที่นั่น เขาเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหลุยเซียนาสเตต (Louisiana State University, LSU) และจบปริญญาตรีในสาขาพาณิชยศาสตร์ ได้รับตำแหน่ง first team All-American สองครั้ง ผู้เล่นแห่งปีของ Southeastern Conference (SEC) สองครั้ง ผู้เล่นแห่งปีระดับประเทศในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) และเป็นเจ้าของสถิติของระดับมหาวิทยาลัย (NCAA) สำหรับจำนวนบล็อกสูงสุดในหนึ่งเกม คือ 17 บล็อกเมื่อแข่งกับมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีสเตต (Mississippi State University) เมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2533
เดล บราวน์ (Dale Brown) โค้ชที่ LSU ในขณะนั้นบอกว่า เขาพบกับแชคครั้งแรกเมื่อไปที่เยอรมนี และเข้าใจผิดว่าแชคเป็นทหารคนหนึ่ง ขณะนั้นเขาอายุเพียง 13 ปี สูงถึง 7 ฟุต แต่หนักเพียง 223 ปอนด์ สามปีผ่านไปแชคตัวสูงขึ้นอีกเพียงหนึ่งนิ้ว แต่มีกล้ามเนื้อเพิ่มถึง 80 ปอนด์

มหาวิทยาลัยหลุยเซียนาสเต็ต
โอนีลโดนดราฟเป็นคนแรกของการดราฟในปี พ.ศ. 2535 โดยทีมออร์แลนโด แมจิก เขาเล่นที่นั่นเป็นเวลาสี่ปีก่อนที่จะหมดสัญญาจากทีมและเซ็นสัญญากับทีมลอสแองเจลีส เลเกอรส์เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539

ออร์แลนโด แมจิก
หลังจากฤดูกาล 1995-96 ของเอ็นบีเอ (ตรงกับ พ.ศ. 2538-39) โอนีลเข้าร่วมทีมลอสแองเจลีส เลเกอรส์ด้วยสัญญาเจ็ดปีมูลค่าสูงถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เขาและโคบี ไบรอันต์ กลายเป็นคู่การ์ดและเซ็นเตอร์ที่เล่นได้ประสิทธิภาพที่สุดคู่หนึ่งในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองจะไม่ราบลึ่นและเกิดเรื่องผิดใจกันบ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตามทั้งคู่ซึ่งคุมทีมโดยโค้ช ฟิล แจ็กสัน ประสบความสำเร็จมากบนสนามแข่งขัน และพาทีมคว้าตำแหน่งชนะเลิศสามปีติดต่อกัน (2000 ถึง 2002 ตรงกับ พ.ศ. 2543 ถึง 2545) แชคได้รับการเลือกเป็นผู้เล่นทรงคุณค่าในรอบสุดท้ายทั้งสามครั้ง เป็นผู้เล่นที่ทำแต้มเฉลี่ยสูงสุดในตำแหน่งเซ็นเตอร์ในประวัติศาสตร์การแข่งรอบสุดท้าย เขายังได้รับการลงคะแนนให้เป็นผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาลปกติของปี 1999-2000 และเกือบได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ขาดไปเพียงคะแนนเดียวเท่านั้น
ต้นฤดูกาล 2003-04 (2546-47) โอนีลประกาศว่าเขาต้องการต่อสัญญา แต่ผู้บริหารทีมลังเลที่จะทำตามข้อเรียกร้องของเขา เลเกอร์สเสนอสัญญาหนึ่งเมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เพื่อให้โอนีลยังคงเป็นผู้เล่นที่มีค่าตัวสูงที่สุดในลีกแต่โอนีลปฏิเสธ
หลังจากเลเกอร์สพ่ายให้กับดีทรอยต์ พิสตันส์ในรอบสุดท้ายของเอ็นบีเอ โอนีลโมโหกับคำพูดของผู้จัดการทั่วไปของเลเกอร์ส มิทช์ คุปแชค (Mitch Kupchak) เกี่ยวกับอนาคตของแชคกับทีม ทำให้โอนีลต้องการให้เทรด โอนีลถูกเทรดไปยังทีมไมอามี ฮีท แลกกับ ลามาร์ โอดม (Lamar Odom), ไบรอัน แกรนต์ (Brian Grant), คารอน บัทเลอร์ (Caron Butler) และสิทธิ์ในการดราฟรอบแรก

ลอสแองเจลีส เลเกอรส์
แชคได้ถูกเทรดอย่างเป็นทางการเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 การเทรดนี้ถือเป็นการเทรดที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์กีฬา โดยผู้วิเคราะห์ไม่แน่ใจว่าผู้เล่นคนเดียวสามารถแทนที่ผู้เล่นสำคัญหลายคนของไมอามีได้ แต่ว่าทีมฮีทใหม่ที่มีแชคประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมายและทำสถิติดีที่สุดของสายตะวันออกได้อย่างง่ายดาย คนที่เทรดออกไปกลับไม่ช่วยให้เลเกอร์สเข้ารอบเพลย์ออฟได้ เขาพลาดรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของฤดูกาล 2004-05 โดยแพ้ให้กับ สตีฟ แนช (Steve Nash) ไปเพียงเล็กน้อย ถึงแม้ว่าแชคจะกะเผลกจากแผลฟกช้ำที่ต้นขา เขาก็ยังนำทีมเข้าถึงรอบชิงของสายตะวันออกและแพ้ให้กับทีมดีทรอยต์ พิสตันส์ในเกม 7 ด้วยคะแนนไม่ห่างมากนัก
สิงหาคม พ.ศ. 2548 โอนีลเซ็นสัญญาต่ออีก 5 ปีกับฮีทด้วยเงิน 100 ล้านเหรียญ นักวิจารณ์ต่างดูแคลนว่าเป็นการจ่ายผู้เล่นอายุมากที่แพงเกินความเป็นจริง แต่ผู้สนับสนุนก็ยกย่องฮีทที่ได้ผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอ็นบีเอด้วยค่าตัวเพียง 20 ล้านเหรียญต่อปี ซึ่งพอ ๆ กับผู้เล่นบางคนที่มักบาดเจ็บหรือเล่นได้แย่บางคน
จากการเซ็นสัญญานี้ แชคได้กลับคำพูดเดิมที่ว่าไม่ยอมลดค่าตัวของตัวเองเพื่อผลประโยชน์ของทีม ปีพ.ศ. 2548 แชคมีค่าตัว 30 ล้านเหรียญแต่ปีต่อ ๆ ไปจะมีค่าตัวลดลงถึง 10 ล้านเหรียญเพื่อช่วยให้ฮีทสามารถได้ผู้เล่นที่ดีขึ้น
ในฤดูกาล 2005-06 แชคบาดเจ็บข้อเท้าขวาในเกมที่สองของฤดูกาลและพลาดลงเล่นใน 18 เกมถัดมา ตลอดฤดูกาลปกติ โค้ช แพท ไรลีย์ (Pat Riley) จำกัดเวลาเล่นของแชคเพื่อให้แชคมีฟอร์มการเล่นที่สดขึ้นเมื่อถึงช่วงเพลย์ออฟ แชคจบฤดูกาลปกติได้เปอร์เซนต์การชู้ตสูงสุดในลีก และเป็นการทำสถิติได้เป็นครั้งที่ 9 ซึ่งมีเพียงแชค และ วิลต์ แชมเบอร์เลน (Wilt Chamberlain) เท่านั้นที่ทำได้ ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2549 แชค ยังทำ ทริปเปิล-ดับเบิล เป็นครั้งที่สองในชีวิตการเล่นโดยได้ 15 คะแนน 11 รีบาวด์ 10 แอสซิสต์ ซึ่งเป็นการทำแอสซิสต์สูงสุดของแชค
ในเพลย์ออฟ 2006 ฮีท ได้คว้าแชมป์เอ็นบีเอเป็นครั้งแรกของทีมภายใต้การนำของแชค และ ดเวน เหว็ด (Dwyane Wade) ฮีทเข้าเพลย์ออฟในอันดับสองในสาย เอาชนะทีมอันดับหนึ่งคือดีทรอยต์ พีสตันส์ในรอบชิงแชมป์คอนเฟอเรนซ์ตะวันออก และชนะทีมดัลลัส แมฟเวอริกส์ในรอบชิงชนะเลิศ แชคทำผลงานเฉลี่ยน้อยกว่าฤดูกาลปกติ แต่ก็สร้างผลงานได้ดีในเกมที่ปิดซีรีส์เพื้อเข้ารอบต่อไป โดยทำ 30 แต้ม 20 รีบาวด์เอาชนะชิคาโก บูลส์ในรอบแรก และทำ 28 แต้ม 16 รีบาวด์ 5 บล็อกเอาชนะพีสตันส์ แชมป์ครั้งนี้เป็นครั้งที่สี่ของแชคและเป็นไปตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับไมอามี
ฤดูกาล 2006-07 ฮีท ประสบปัญหาการบาดเจ็บจากผู้เล่นหลัก แชคเจ็บเข่าขวา และไม่ได้ลงเล่นถึง 30 เกม ช่วงที่แชคหายไป ทีมมีปัญหาการเล่น แต่เมื่อแชคกลับมาเล่นอีกครั้ง เขาทำให้ทีมชนะ 7 ใน 8 เกมถัดมา แต่ ดเวน เหว็ด ก็มาบาดเจ็บหัวไหล่เคลื่อน นักวิจารณ์สงสัยว่าลำพังแชคสามารถแบกทีมให้เข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้หรือไม่ ซึ่งแชคก็ตอบข้อวิจารณ์โดยพาทีมให้ชนะเกมติดต่อกันและได้เล่นในเพลย์ออฟ ฮีท ได้พบกับ ชิคาโก บุลส์ ในรอบแรกแต่แพ้ 4 เกมรวดและตกรอบเพลย์ออฟ

ไมอามี ฮีท

โอนีลได้รับเลือกให้เล่นเกมออลสตาร์ทุกปีตั้งแต่ที่เริ่มเล่นในเอ็นบีเอเมื่อ พ.ศ. 2536 (ยกเว้นปี 2542 เมื่อมีการประท้วงหยุดเล่นและงดออลสตาร์เกม)
เป็นผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) ในรอบไฟนอลของเอ็นบีเอ (พ.ศ. 2543 ถึง 2545)
ได้รับเลือกเป็น All-NBA-Defensive ในปี พ.ศ. 2543, 2544 และ 2546 (แต่ไม่จัดอยู่ในทีมแรก)
เป็นผู้เล่นคนสำคัญใน World Championship ปี 2537 และ โอลิมปิกปี 2539 และเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในทีม
เป็นผู้เล่นคนแรกในเอ็นบีเอที่ทำค่าเฉลี่ย 20 แต้ม 10 รีบาวด์ต่อเกมรวมกัน 13 ฤดูกาล
ได้รับเลือกเป็น All-NBA-Team 11 ปี
ได้รับเลือกเป็น MVP ในฤดูกาล 1999-00 (พ.ศ. 2542-43) และ ในออลสตาร์เกมของฤดูกาล 2003-04 (พ.ศ. 2546-47)
ได้รับปริญญาด้านพาณิชยศาสตร์จาก LSU ที่นั่นมีที่พักตั้งชื่อว่า Shaquille O'Neal Lodge เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ประชุม Cook Conference Center
ได้รับปริญญาโทบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแห่งฟีนิกส์ (University of Phoenix) เมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2548 รางวัลที่ได้รับ
โอนีลมีร่างกายที่พิเศษ ความสูง 7 ฟุต 1 นิ้วและน้ำหนัก 320 ปอนด์ทำให้เขามีพละกำลังมาก และสำหรับคนรูปร่างขนาดนั้น แชคเป็นคนที่คล่องแคล่ว ท่า drop step ของเขาคือ เริ่มด้วยยีนหันหลังให้แป้นและผู้เล่นตั้งรับทีมตรงข้าม จากนั้นหมุนตัวและเอาตัวดันเพื่อทำสแลมดังก์ เป็นท่าที่ยากที่จะป้องกันได้ เขายังเป็นคนส่งลูกที่ดีและเล่นตั้งรับได้มีประสิทธิภาพ การที่มีคนอย่างเขาบริเวณใต้แป้นทำให้ทีมต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการรุกและรับ หากจะป้องกันแชคโดยเอาผู้เล่นสองหรือสามคนมาประกบก็กลับทำให้เพื่อร่วมทีมสามารถชู้ตลูกได้ง่าย ๆ โดยไม่มีใครมาประกบ
โอนีลเป็นคนที่ชู้ตลูกโทษแย่ที่สุดคนหนึ่งในเอ็นบีเอ ค่าเฉลี่ยตลอดการเล่นของเขาคือเพียง 53.1% ทีมตรงข้ามชอบใช้วิธีทำฟาวล์แชคโดยจงใจ เรียกกลยุทธนี้ว่า Hack-a-Shaq คิดและตั้งชื่อโดย ดอน เนลสัน โค้ชของดัลลัส แมฟเวอริกส์ แต่การชู้ตลูกโทษแย่ก็พบในผู้เล่นยิ่งใหญ่อีกหลายคนเช่น วิลท์ แชมเบอร์เลน (Wilt Chamberlain)
จุดอ่อนอีกอย่างหนึ่งของเขาคือเรื่องน้ำหนัก โอนีลมักปรากฏตัวในแคมป์ฝึกซ้อมก่อนฤดูกาลด้วยน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ในช่วงสองสามปีสุดท้ายกับทีมลอสแองเจลีส เลเกอรส์ เขาหนักประมาณ 350 ปอนด์ (160 กิโลกรัม) เมื่อแชคมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เขามักมีปัญหาการบาดเจ็บโดยเฉพาะตัวแม่โป้งเท้าข้างขวา เขามีอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่ข้อต่อนิ้วโป้งเท้าขวาจากการวิ่ง กระโดด และดังก์ ด้วยน้ำหนักตัวที่สูงเป็นเวลามากกว่าสิบปี
หลายคนรู้สึกว่าความดังของแชคทำให้กรรมการละเลยที่จะเรียกฟาวล์เมื่อทำผิดกฎบางอย่าง เช่นท่าชู้ตลูกโทษของแชคที่ละเมิดกฎที่ห้ามไม่ให้คนชู้ตลูกโทษล้ำข้ามเส้นลูกโทษจนกว่าลูกบาสเกตบอลจะกระทบกับห่วงหรือแป้นบาส แต่คนที่เข้าข้างแชคมักพูดว่า เนื่องจากรูปร่างที่ใหญ่โตของเขา กรรมการมักปล่อยให้คนอื่นเล่นรุนแรงขึ้นกับแชค

จุดแข็งและจุดอ่อน
นอกสนาม แชคมีความสนใจงานในหน่วยงานตำรวจมาก โอนีลผ่านหลักสูตรโรงเรียนตำรวจของลอสแองเจลีส และเป็นเจ้าหน้าที่สำรองของตำรวจท่าของลอสแองเจลีส
เมื่อมีนาคม พ.ศ. 2548 เขาได้รับยศกิตติมศักดิ์ U.S. Deputy Marshal และเป็นโฆษกของสถาบัน Safe Surfin' และยังทำงานร่วมกับหน่วยที่มีชื่อเดียวกันเพื่อตามล่าผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อล่อลวงเด็กทางเพศ
เมื่อแชคย้ายไปอยู่ไมอามี แชคเริ่มฝึกเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่สำรองของเมืองไมอามีบีช และเข้าสาบานตัวเป็นเจ้าหน้าที่เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2548 แชคสนใจทำงานด้านสืบสวนสอบสวน สำหรับป้องกันอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับเด็ก

แรงดลใจในเรื่องตำรวจ

ผลงานการแสดง

Blue Chips (1993) เล่นกับเพื่อนร่วมทีม แอนเฟอร์นี ฮาร์ดาเวย์ (Anfernee Hardaway) และ Nick Nolte
Kazaam (1996)
Good Burger (1997)
Steel (1997)
Freddy Got Fingered (2001) ภาพยนตร์

เนสเล่ ครั้นช์ (Nestlé Crunch)
Chattem Icy Hot Sleeve and Icy Hot Back Patch (แผ่นปิดแก้ปวดเมื่อย)

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550


?
มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เริ่มต้นเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย หรือ ภาษาอื่นด้านซ้ายมือ ให้นำกล่องนี้ออกเมื่อมีข้อความเพิ่มเติม


เซโฟตีแทน (Cefotetan)
เซโฟตีแทน

รุ่นที่ 1
รุ่นที่ 2
รุ่นที่ 3
เซโฟตีแทน

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ฟ้าประกอบ รักเกียรติยิม
ฟ้าประกอบ รักเกียรติยิม ชื่อจริงว่า นายประหยัด ไสวงาม เป็นชาวจังหวัดขอนแก่น

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550


โพรโทซัว (Protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึม และถูกขับออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต
โปรโตซัว

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

กิโลไบต์
กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ (2 ไบต์) เช่น ถ้าพูดว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 กิโลไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65,536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65,536 ตัวอักขระ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

ค.ศ. 988
พุทธศักราช 1531 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 988 - มีนาคม ค.ศ. 989
มหาศักราช 910 วันเกิด

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

แมนจูกัว
แมนจูกัว (Manchukuo) (ค.ศ. 1932-1945) (จีนตัวเต็ม: 满洲国, จีนตัวย่อ: 滿洲國, พินอิน: Mǎnzhōu Guó, ญี่ปุ่น: まんしゅうこく, โรมะจิ: Manshūkoku, มันชูโกะกุ) ดินแดน แมนจูเรียปัจจุบัน โดยมีเมืองสำคัญเช่น ฮาร์บิน เป็นต้น เป็นชื่อซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีปูยีเป็นจักรพรรดิ

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

เบอร์ลินตะวันออก
เบอร์ลินตะวันออก เป็นชื่อที่เรียกส่วนตะวันออกของเบอร์ลินระหว่างปี ค.ศ. 1949 ถึง 1990 เบอร์ลินตะวันออกประกอบด้วยเขตเบอร์ลินใต้ปกครองของโซเวียตซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1945. ส่วนเขตใต้ปกครองของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสนั้นรวมกัน "โดยพฤตินัย" เป็นเบอร์ลินตะวันตก
แม้เบอร์ลินตะวันออกจะมีสถานะเป็นเมืองที่ถูกยึดครอง ถึงอย่างไรก็ตาม มันถูกยกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศเยอรมนีตะวันออก. ตั้งแต่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ถึง 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 มันถูกแยกออกจากเบอร์ลินตะวันตกโดยกำแพงเบอร์ลิน. รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกเรียกเบอร์ลินตะวันออกเพียงแค่ "เบอร์ลิน" หรือบ่อย ๆ ว่า "Berlin, Hauptstadt der DDR" (เบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีตะวันออก) คำว่า "Democratic Sector" (เขตประชาธิปไตย) ก็มีใช้เช่นกัน จนถึงคริสตทศวรรษ 1960
ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 ประเทศเยอรมนีตะวันตก และ ประเทศเยอรมนีตะวันออก ได้รวมกัน จึงเป็นการสิ้นสุดการมีอยู่ของเบอร์ลินตะวันออกอย่างเป็นทางการ

เบอร์ลินตะวันออก ภาพเบอร์ลินตะวันออก

ภาพยนตร์ Good Bye Lenin! (พ.ศ. 2546) ภาพยนตร์ตลกโศกนาฏกรรม เกี่ยวกับความพยายามของลูกชายที่จะป้องกันไม่ให้แม่ของเขารู้ว่า เยอรมนีตะวันออกอันเป็นที่รักของเธอนั้น ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว ฉากเกือบทั้งเรื่องอยู่ในเบอร์ลินตะวันออก

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

ตราประจำวัน
ตราประทับ (postal marking) ในทางไปรษณีย์ หมายถึงการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ลงบนซองจดหมาย หรือ สิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ มีหลายประเภท มีทั้งตราที่ใช้ในงานไปรษณีย์ และตราสำหรับประทับเป็นที่ระลึกในการสะสมแสตมป์

ตราประทับทางไปรษณีย์
ตราที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ตราประจำวัน (postmark หรือ date stamp) ซึ่งแสดงชื่อที่ทำการไปรษณีย์ และวันเดือนปีที่ประทับ โดยไปรษณีย์ต้นทางจะประทับตราลงบนดวงแสตมป์โดยมีวัตถุประสงค์คือ เป็นการทำเครื่องหมายขีดค่า (cancel หรือ cancellation) ป้องกันการนำแสตมป์กลับมาใช้ใหม่ ส่วนไปรษณีย์ระหว่างทางและปลายทาง จะประทับตราลงด้านหลังจดหมายเพื่อเป็นหลักฐานการเดินทางของจดหมาย แต่ระยะหลังไม่ค่อยได้ประทับด้านหลังเนื่องจากปริมาณจดหมายที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นมาก และมีการคัดแยกจดหมายด้วยเครื่องอัตโนมัติ
บางประเทศแยกตราออกเป็นสองส่วน คือ ตราประจำวัน และตราขีดฆ่า (killer) ซึ่งต้องประทับด้วยมือสองครั้ง โดยจะประทับตราขีดฆ่าบนดวงแสตมป์ ส่วนตราประจำวัน ประทับบนซองโดยไม่แตะต้องแสตมป์ เพื่อจะได้เห็นวันที่และที่ทำการไปรษณีย์ชัดเจนกว่าการประทับตราประจำวันอย่างเดียวบนแสตมป์หรือส่วนของแสตมป์
ตราประจำวัน อาจประทับด้วยมือหรือด้วยเครื่องก็ได้ ซึ่งตราที่ประทับด้วยมือจะเป็นที่นิยมสะสมมากกว่า ตราที่ประทับด้วยเครื่อง (เรียกตราประทับเครื่อง, machine cancellation) อาจมีรายละเอียดอื่น เช่น เวลาที่ประทับ และอาจมีส่วนที่เพิ่มเติมสำหรับการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ (เรียกตราสโลแกน, slogan cancel) หรือเป็นลักษณะลูกคลื่นหรือรูปธง (flag cancel) เพื่อให้ตราสามารถขีดฆ่าแสตมป์หลาย ๆ ดวงพร้อมกัน
นอกจากนี้ วันที่บนตราประจำวันยังมีความสำคัญ สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง เช่น วันที่ส่งแบบฟอร์มการเสียภาษีทางไปรษณีย์ในหลายประเทศจะถือจากตราประจำวันเป็นหลัก ไม่ใช้วันที่หน่วยงานด้านภาษีได้รับจดหมาย

ตราประจำวัน
นอกเหนือจากตราประจำวันแล้ว ตราอื่น ๆ ที่มีใช้ในการไปรษณีย์ เช่น ตรา AV สำหรับช่วยในการคัดแยกจดหมายระหว่างประเทศ ตราสำหรับประทับเป็นป้ายลงทะเบียน ตราอธิบายสาเหตุที่ไม่สามารถส่งยังผู้รับปลายทางได้ ตราที่แสดงว่าจดหมายผ่านการเซ็นเซอร์ กล่าวคือมีการเปิดอ่านและตรวจแล้วว่าเนื้อหาไม่เป็นภัย พบในช่วงสงคราม เป็นต้น

ตราอื่น ๆ
นอกเหนือจากตราประทับสำหรับใช้งานทั่วไปทางไปรษณีย์แล้ว ยังมีตราประทับที่จัดทำขึ้นสำหรับการสะสมโดยเฉพาะ ได้แก่

ตราประจำวัน ตราประทับที่เกี่ยวข้องกับการสะสมแสตมป์
เป็นตราประจำวันของที่ทำการไปรษณีย์ ที่เปิดให้บริการด้านไปรษณีย์ตามงานต่าง ๆ บางงานจะนำตราประจำวันจากที่ทำการไปรษณีย์ในท้องที่ไปให้ประทับตรา แต่ในหลายงานมีการออกแบบตราประจำวันเป็นพิเศษ และใช้งานเป็นเวลาจำกัด จึงมีคุณค่าต่อการสะสม ตัวอย่างเช่น ในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หรือ งานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ หรือ เป็นต้น ตราประจำวันดังกล่าวสามารถประทับได้เฉพาะในงานเท่านั้น เมื่อจบงานตราจะถูกเก็บเข้าคลังไม่สามารถหาประทับได้อีก

ตราประจำวันของที่ทำการไปรษณีย์ชั่วคราว
ตราประทับวันแรกจำหน่าย เป็นตราที่ประทับลงบนซองวันแรกจำหน่ายหรือของสะสมอื่น ๆ มักปรากฏอยู่บนซองเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ตอนซื้อ กล่าวคือนักสะสมไม่สามารถประทับตรานี้เองได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่วันแรกจำหน่าย

ตราที่ระลึก
ตราประทับที่ประกอบด้วยชื่องาน ตลอดจนช่วงเวลาและสถานที่จัดงานนั้น เพื่อให้นักสะสมประทับลงบนสิ่งสะสมเพื่อบอกรายละเอียดเกี่ยวกับงาน

ตราประจำที่ทำการไปรษณีย์
ตราประจำวัน ปัจจุบันนิยมใช้สีดำ ส่วนตราอื่น ๆ หรือตราสำหรับการสะสมอาจมีสีอื่นก็ได้ เช่น สีม่วง สีน้ำเงิน เป็นต้น
ย้อนกลับไปสมัยที่ออกแสตมป์ดวงแรกของโลก คือ เพนนีแบล็ค (Penny Black) ของสหราชอาณาจักร เป็นแสตมป์ที่มีสีดำ ส่วนตราประทับใช้สีแดง แต่ปรากฏว่าสีแดงสามารถล้างออกได้ง่าย ทำให้สามารถนำแสตมป์มาใช้ใหม่ ทางไปรษณีย์จึงเปลี่ยนมาใช้ตราประจำวันสีแดง ส่วนแสตมป์เปลี่ยนเป็นสีแดง เรียก เพนนีเรด (Penny Red)