วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550

เมืองยอง ภูมิลักษณะ
เขตกำแพงเมืองลักษณะกลมรีตั้งอยู่บนเนินสูง มีคูน้ำคันดิน ที่ตั้งประกอบด้วยประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
นอกจากนั้น ยังมีอีก 3 ประตู ภายในเวียง คือ ประตูดินแดง ประตูหูหูด และประตูผาบ่อง บริเวณใจกลางเมืองมีต้นสรี หรือต้นโพธิ์มีไม้ค้ำโดยรอบซึ่งแสดงถึงความเชื่อเรื่องไม้ค้ำสรี เช่นเดียวกับคนเมืองในล้านนา

ทิศเหนือ ติดกับดอยปางหนาว มีประตูม่อนแสน
ทิศตะวันตก ติดเทือกเขา มีประตูปางหิ่ง
ทิศตะวันออก ติดที่ราบ มีประตูป่าแดง และประตูน้อย
ทิศใต้ ติดที่ราบ โดยมีแม่น้ำยองไหลผ่าน มีประตูเสื้อเมือง กำแพง ประตู และใจกลางเมืองยอง

เมืองยอง การอพยพมาของชาวไทลื้อ
ในยุคที่อาณาจักรล้านนาสมัยราชวงศ์มังรายเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจ เมื่อกองทัพมองโกลหรือพวกฮ่อยกกองทัพเข้ายึดเมืองยองได้และเลยมาตีถึงเชียงแสน
สมัยพญาสามฝั่งแก่น (พ.ศ. 1947-1948) กองทัพเชียงใหม่ สามารถขับไล่พวกฮ่อออกจากเชียงแสนและเมืองยองได้ เมืองยองจึงได้หันมาส่งบรรณาการให้กับเชียงใหม่
ในสมัยที่ที่ล้านนามีอำนาจสูงสุด พญาติโลกราช (พ.ศ. 1984-2939) ได้ขึ้นไปปกครองเมืองยองอยู่ระยะหนึ่งในราว พ.ศ. 1985 เพราะตำนานเมืองยอง และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงถึงการขยายอำนาจของล้านนาไปจนถึงดินแดนสิบสองพันนา พญาติโลกราช ซึ่งในตำนานได้ระบุว่า พระเจ้าอโศก ได้บูรณะพระธาตุจอมยอง และทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเมืองยองให้เจริญมั่นคง สันนิษฐานว่าพุทธศาสนาแบบลังกาได้ขึ้นไปเผยแผ่ถึงหัวเมืองต่าง ๆ ทางตอนบนระยะเวลานี้ด้วย
เหตุการณ์ดังกล่าวได้บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองยองกับเชียงใหม่ที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 29-22 ในยุคที่อาณาขนาดจักรใหญ่ได้ขยายตัวออกไปโดยการทำสงคราม เช่น พม่า จีนหรือสิบสองพันนา ดังนั้น ล้านนาและล้านช้างจึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มกำลังคนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการขยายอำนาจและสร้างอาณาจักร และยังใช้เป็นสิ่งที่แสดงอิทธิพลเหนือดินแดนต่าง ๆ ในปริมณฑลแห่งอำนาจหรือเมืองชายขอบ
จากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เมืองยอง จึงอยู่ท่ามกลางการขยายอำนาจ และการแสดงอิทธิพลของศูนย์อำนาจต่างๆ ตลอดเวลา การอยู่ในฐานะรัฐกันกระทบหรือรัฐกันชน (Buffer State) ระหว่างอาณาจักรใหญ่ ต้องปรับตัวโดยการสร้างความสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลของอำนาจจากฝ่ายต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ทำให้เมืองยองมีลักษณะเป็นเมืองที่เรียกกันว่า เมืองสามฝ่ายฟ้า เพราะมีความสัมพันธ์ในเชิงบรรณาการ (tribute) และเชิงอำนาจกับจีน พม่าและเชียงใหม่ในเวลาเดียวกัน ในยามทำสงคราม เมืองยองจึงถูกดึงเข้าสู่การสู้รบ โดยถูกเกณฑ์ทั้งเสบียงอาหารและผู้คน ตลอดจนการกวาดต้อนผู้คนไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ครั้งที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ

ไม่มีความคิดเห็น: