วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

การเมือง
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่

Malaysia การแบ่งเขตการปกครอง
มาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมาเลย์)
มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ)

กลันตัน (โกตาบารู)
เกดะห์ (ไทรบุรี) (อลอร์สตาร์)
ตรังกานู (กัวลาตรังกานู)
เนกรีเซมบีลัน (สเรมบัน)
ปะหัง (กวนตัน)
ปะลิส (กังการ์)
ปีนัง (จอร์จทาวน์)
เประ (อีโปห์)
มะละกา (มะละกา
ยะโฮร์ (ยะโฮร์บาห์รู)
สลังงอร์ (ชาห์อาลัม)
ซาบาห์ (โกตากินะบะลู)
ซาราวัก (กูชิง) รัฐ
มาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมาเลย์)
มาเลเซียตะวันออก

กัวลาลัมเปอร์ (กัวลาลัมเปอร์)
ปุตราจายา (ปุตราจายา)
ลาบวน (วิกตอเรีย) ภูมิศาสตร์

มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศ

ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม เศรษฐกิจ
มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วย ชาวมาเลย์ กว่า 40% ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน อีก 10% เป็นชาวอินเดีย อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว อีก 5%เป็นชาวไทย และอื่นๆอีก 2%

ไม่มีความคิดเห็น: